ประเพณีท้องถิ่นล้านนา
  • kenburns1
  • kenburns6
  • kenburns3

ประเพณีท้องถิ่นล้านนา


   ภาคเหนือ หรือล้านนา ดินแดนแห่งความหลากหลายทางประเพณีและวัฒนธรรมที่มีความน่าสนใจไม่น้อยไปกว่าภาคอื่นของไทย เพราะเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยเสน่ห์มนต์ขลัง ความเชื่อ ความคิด การกระทำ ค่านิยม ทัศนคติ ศีลธรรม ระเบียบแบบแผน และวิธีการกระทำสิ่งต่าง ๆ ตลอดจนถึงการประกอบพิธีกรรมในโอกาสต่าง ๆ ที่กระทำกันมาในอดีต ลักษณะสำคัญของประเพณี คือเป็นสิ่งที่เชื่อถือปฏิบัติกันมาจนกลายเป็นแบบอย่างความคิดหรือการกระทำที่ได้สืบต่อกันมาและมีอิทธิพลจนถึงปัจจุบัน
   ประเพณีเป็นกฎเกณฑ์หรือแบบแผนที่สังคมกำหนดขึ้นใช้ร่วมกันในหมู่สมาชิกประเพณี จึงเป็นเครื่องหมายบอกความเป็นพวกเดียวกันของพวกที่ยึดถือในประเพณีเดียวกัน เป็นวัฒนธรรมประจำชาติหรือเป็นเอกลักษณ์ของสังคม แสดงว่า สังคมนั้นมีความเจริญมาตั้งแต่อดีตหรือมีลักษณะเฉพาะของตนมาเป็นเวลานาน ดังนั้นการมีประเพณี เป็นของตนเองจึงนับเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่ง และเป็นสิ่งเชื่อมโยงให้คนในสังคมมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา ส่วนใหญ่ผู้ถือปฏิบัติมักจะลืมความหมาย และความสำคัญของประเพณีนั้นๆ แต่ก็ยังคงยึดถือปฏิบัติกันอยู่ก็เพราะความเคยชินผสมกับความเชื่อทั้งจากศาสนาพุทธ และศาสนาพราหมณ์ ซึ่งในหมู่คนรุ่นหลังๆ ก็เริ่มลืมเลือน และไม่ค่อยให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องของประเพณีที่เคยสืบต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ  จึงเป็นเหตุให้ประเพณีค่อยๆ จางหายไปอย่างช้าๆ

ประเพณีสืบชะตา

      ประเพณีสืบชะตาเป็นประเพณีที่ผูกพันกับวิถีชีวิตของคนลำปางอย่างแน่นแฟ้นสืบทอดกันมาแต่โบราณกาล
เพราะมีความเชื่อมั่นว่าพิธีสืบชะตานี้เป็นการต่ออายุทั้งของตัวเองและญาติพี่น้องบริวารหรือชะตาของ
บ้านเมืองให้มีอายุยืนยาวสืบไปก่อให้เกิดความสุจความเจริญอีกทั้งเป็นการขจัดภัยอันตรายต่างๆที่จะบังเกิดขึ้นให้คลาดแคล้วจากบาปเคราะห์และสิ่งชั่วร้ายทั้งมวลก่อให้เกิดขวัญและกำลังใจในการดำรงชีวิตร่วมกันของคนในสังคม ซึ่งจะมีผลส่งให้บ้าน เมืองมีความสงบสุขและมีความอุดมสมบูรณ์สืบไป

      คนสมัยก่อนมีความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ได้ศึกษาพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแตกฉานลึกซึ้งก็เลยมีความคิดที่จะมาทำให้บ้านเมืองและคนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดีจึงได้นำเอาพุทธานุภาพ ธรรมมานุภาพ สังฆานุภาพมาผสมผสานเป็นพิธีสืบชะตาขึ้นทั้งนี้เพื่อช่วยบรรเทาความทุกข์ใจความกังวลใจต่อบาปเคราะห์ต่างๆของมนุษย์ให้จางหายให้ประสบแต่เรื่องดีเรื่องเจริญเพราะยึดหลักที่ว่าผู้ใดหมั่นฟังธรรมเป็นนิจรู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน และเป็นผู้รักษาตนไม่ประมาท ย่อมจะมีชีวิตที่ยืนยาว  

 วัตถุประสงค์การสืบชะตาเพื่อให้เป็นสิริมงคล และขับไสสิ่งชั่วร้ายที่เป็นเสนียดจัญไรให้ออกไปจากบุคคลหรือสถานที่พิธีสืบชะตาเป็นประเพณีที่ได้รับอิทธิพลจากธรรมเนียมของพราหมณ์ ซึ่งได้นำมาผสมผสานกับพิธีกรรมของพุทธศาสนาได้อย่างกลมกลืน สืบชะตา มี 2 ประเภท คือ สืบชะตาคน และ สืบชะตาหมู่บ้าน


พิธีกรรม


1. สืบชะตาหลวงให้ทุกคนในครอบครัวไปนั่งรวมกันภายในบริเวณขาตั้ง สามเหลี่ยมที่จัดไว้ ถ้าสืบชะตาหน้อยจะมีผู้สืบ ชะตาคนเดียวที่ไปนั่งในขาตั้งสามเหลี่ยม

2. พระสงฆ์นำสายสิญจน์ มาผูกคอผูกสืบชะตาทุกคนแล้วเริ่มสวด

3. ใกล้จะจบพอสวดถึงคำว่า ขีณํ ปุราณํ นวํ นตํกิ สมราวิ ฯลฯ ก็จะมีผู้เฒ่าเป็นหญิงหม้ายลงไปใต้ถุนบ้าน เริ่มเผาด้ายสาย สิญจน์ ซึ่งมัดขึงไว้กับเส้นลวด โดยมีความยาวของด้ายเท่ากับ 1 วา ของผู้สืบชะตาทุกคน การเผาเรียกว่าเผาสายสิญจน์ " ค่าคิง" ผู้ป่วยจะมีอายุ ยืนยาวต่อไปหรือมีความเชื่อว่าตายแล้วจะเกิดใหม่

4.พอสวดเสร็จพิธี อาจารย์ผู้ที่อาราธนาศีล จะเป็นผู้เก็บขาตั้งสามเหลี่ยม

5. การนำไปทิ้งส่วนใหญ่จะนำไปเก็บไว้ในวัดที่มีต้นโพธิ์หรือต้นไม้ใหญ่ๆ หรืออาจจะเก็บไว้ในป่าที่มีต้นไม้ใหญ่
สาระ

การสืบชะตาคล้ายกับการสะเดาะเคราะห์แต่การสืบชะตามีขั้นตอนและวิธีการยากกว่ามีวัสดุอุปกรณ์มาก แบ่งเป็น 2 พิธี คือ

- พิธีสืบชะตาหลวง คือทำกันทั้งครอบครัว
- พิธีสืบชะตาหน้อย คือทำคนเดียว

ผู้ที่จะสืบชะตาจะเป็นคนเจ็บป่วยหรือไม่ก็ได้ แต่เห็นว่าปีหนึ่งควรจะทำเสียครั้งหนึ่งเพื่อให้อยู่อย่างมีความสุข

วัสดุที่ใช้


1. ขันตั้งประกอบด้วยของอย่างละ 4

    1.1 หมาก 4 พลู 4
หมาก-พลู
        1.2 เทียน 4 คู่

เทียน 4 คู่

    1.3 ธูป 4 คู่

ธูป 4 คู่

    1.4 ดอกไม้ 4
ดอกไม้ 4
    1.5 เงิน 5 บาท 1 สลึง(25สตางค์)
 เงิน 5 บาท 1 สลึง

    1.6 ข้าวสาร
ข้าวสาร

    1.7 ผ้าขาวผ้าแดง
ผ้าขาวผ้าแดง

2. วัสดุที่ใช้สืบชะตา

    2.1 ต้นกล้วยต้นอ้อย(ให้ความหมายว่าเกิดความงอกงามสดชื่น)
ต้นกล้วยต้นอ้อย

    2.2 ไม้ง่ามความยาวเท่าศอกของผู้สืบชะตา
ไม้ง่าม

    2.3 หมาก พลู
หมาก พลู

     2.4 ตุง (การต้ดกระดาษแก้วให้เป็นรูปตุ๊กตา)เลือกสีประจำเทวดานพเคราะห์
ตุง

     2.5 ข้าวเปลือก ข้าวสาร
ข้าวเปลือก ข้าวสาร


    2.6 ผลไม้ส่วนใหญ่จะใช้มะพร้าว กล้วยทั้งดิบและสุก
ผลไม้

    2.7 กระบอกน้ำ กระบอกทราย ใช้กระบอกไม้ไผ่ โดยมีข้อแม้ว่า " น้ำอยู่บนปลาย ทรายอยู่ล่าง "
กระบอกน้ำ กระบอกทราย ใช้กระบอกไม้ไผ่

3. วัสดุที่ใช้ประกอบ
    3.1 ด้ายสายสิญจน์
ด้ายสายสิญจน์

   3.2 บาตรน้ำมนต์ (น้ำมนต์ประกอบด้วยฝักส้มป่อยเผา แล้วห้ามเป่า นำไปแช่ในน้ำสะอาด )
บาตรน้ำมนต์


พิธีสืบชะตาบ้าน
      การสืบชะตาบ้านมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความเป็นสิริมงคลให้แก่หมู่บ้าน โดยจะประกอบพิธีกรรมที่หอเสื้อบ้านหรือศาลากลางบ้านอันเป็นศูนย์รวมในการประกอบพิธีของหมู่บ้าน
      ก่อนวันประกอบพิธี  ชาวบ้านจะช่วยกันประดับตกแต่งหอเสื้อบ้าน หรือศาลากลางบ้านให้สวยงาม ทำความสะอาดบริเวณรอบ ๆ แล้วจัดราชวัตร ปักฉัตร และธงทิว ใช้ต้นกล้วย ต้นอ้อย ประดับโดยรอบ วงด้ายสายสิญจน์รอบบริเวณพิธีทำแท่นบูชาท้าวทั้งสี่และเทพารักษ์ในบริเวณนั้นมีสิ่งของที่นำมาประกอบพิธี ได้แก่ ข้าว พริกแห้ง เกลือ ขนม ข้ามต้มดอกไม้ ธูปเทียน หมาก พลู บุหรี่ เมี่ยง ซึ่งได้มาจากการบริจาคของชาวบ้าน
      ในวันประกอบพิธี จะมีการทำบุญตักบาตรในตอนเช้า ในบริเวณพิธี หลังจากนั้นพระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถา และสวดพระปริตร เทศนาธรรมใบลาน และเทศนาธรรมสืบชุตา เพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้ายและเสนียดจัญไร หรือสิ่งอัปมงคลให้ออกไปจากหมู่บ้าน เมื่อจบพิธีแล้วก็จะปะพรมน้ำมนต์แก่ผู้มาร่วมพิธีทุกคน


พิธีสืบชะตาคน
      จะจัดทำในโอกาศต่าง ๆ กันเช่นขึ้นบ้านใหม่ภายหลังจากการเจ็บป่วยหรือทำให้โอกาสที่หมอดูทำนายทายทัก
ว่าดวงชะตาไม่ดีบางครั้งทำเพื่อสะเดาะห์เคราะห์ภายหลังจากประสบเคราะห์กรรมเมื่อสืบชะตาแล้วเชื่อว่าจะช่วยเสริมสร้างดวงชะตาให้ดีขึ้นอีกทั้งเป็นการบำรุงขวัญและกำลังใจของผู้ที่ประสบจากเคราะห์กรรมหรือผู้เจ็บป่วย ให้กลับคืนสภาพปกติ

      สถานที่ประกอบพิธีใช้บริเวณบ้านของผู้ที่จะสืบชะตา โดยจะใช้ห้องโถง ห้องรับแขก ลานบ้าน ก็ได้ สำหรับสิ่งของที่ต้องใช้ ไม้ง่ามขนาดเล็กนำมามัดรวมกัน มีจำนวนมากกว่าอายุผู้สืบชะตา 1 อัน ,ไม้ค้ำศรียาวเท่ากับความสูงของผู้เข้าพิธี 3 ท่อน นอกจากนี้มี กระบอกข้าว กระบอกทราย กระบอกน้ำ สะพานลวดเงิน-ทอง เบี้ยแถว (ใช้เปลือกหอยแทน ) หมากแถว มะพร้าวอ่อน กล้วย อ้อย หมอน เสื่อ ดอกไม้ธูปเทียนและมีเทียนชัยเล่มยาว 1 เล่ม การจัดสถานที่ใช้ไม้ค้ำศรีทำเป็นกระโจมสามเหลี่ยม ตรงกลางเป็นที่ว่างสำหรับวางสะตวงและสิ่งของเครื่อใช้ในพิธีจัดที่ว่างใกล้ๆกระโจมให้เป็นที่นั่งสำหรับผู้เข้าไปรับการสืบชะตา แล้ววนด้านสายสิญจน์ 3 รอบ โยงกับเสากระโจมทั้งสามขา แล้วนำไปพันรอบพระพุทธรูป และพระที่สวดทำพิธี

      โดยปกติการสืบชะตาคนโดยทั่วไปใช้พระสงฆ์ประกอบพิธี 9 รูป ส่วนการการสืบชะตาคนพร้อมกับขึ้นบ้านใหม่ใช้พระ 5 รุปขึ้นไป เพื่อสวดพระปริตร สวดชยันโต ให้ศีลให้พร ฟังเทศน์สังคหะและเทศน์สืบชะตาตัวแทนที่เข้าไปนั่งในสายสิญจน์คือผู้นำครอบครัวหรือผู้ที่อาวุโสสูงสุดในครอบครัว เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและครอบครัว

ประเพณีฮ้องขวัญ


      คำว่า “ขวัญ” หมายถึง ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย… สิ่งที่ไม่มีตัวตนเชื่อกันว่ามีอยู่ประจำชีวิตของคนมาตั้งแต่เกิด ถ้าขวัญอยู่กับตัว ก็จะเป็นสิริมงคล เป็นสุขสบาย จิตใจมั่นคง ถ้าตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็จะออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ทำให้คนได้รับผลร้ายต่าง ๆ…และอนุโลมใช้ไปถึงสัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ ว่ามีขวัญเช่นเดียวกับคนเหมือนกัน
     ชาวล้านนามีความเชื่อกันว่าขวัญจะอยู่ประจำตัวเป็นพลังที่ช่วยในการปกป้องรักษาเจ้าของขวัญให้มีความอยู่
เย็นเป็นสุขไม่ เจ็บไม่ป่วย
  แต่เมื่อใดที่ขวัญอ่อนลงหรือออกจากร่างจะเป็นเหตุให้สภาวะของร่างกายและจิตใจของเจ้าของขวัญรู้สึกเสียใจ ตกใจ ท้อใจ อาจเรียกได้ว่า ขวัญหาย ขวัญหนีดีฝ่อ ขวัญเสียหรือเสียขวัญ ทำให้เจ้าของขวัญเจ็บป่วย กินไม่ได้นอนไม่หลับ ไม่มีกำลังใจ ในการดำเนินชีวิต ถ้าต้องการให้ขวัญกลับคืนสู่ตัวและชีวิตเป็นปกติสุข จำเป็นต้องทำ พิธีฮ้องขวัญ และโอกาสที่ใช้ในการฮ้องขวัญมีหลายลักษณะ เช่น การฮ้องขวัญเกี่ยวกับคน ได้แก่ การเรียกขวัญคนเจ็บไข้ได้ป่วย ขวัญคนที่ประสบอุบัติเหตุ ขวัญเด็ก ขวัญสามเณร ขวัญนาค ขวัญบ่าวสาว ขวัญผู้ใหญ่ที่เคารพ การฮ้องขวัญของผู้ที่มีการเปลี่ยนผ่านสถานภาพ (เปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่ การงาน เปลี่ยนที่อยู่อาศัย จบการศึกษา)

      การฮ้องขวัญผู้มาเยือนเป็นการสร้างความสัมพันธ์ให้เกียรติแขกที่มาเยือน การฮ้อง ขวัญหลังจากการทำเกษตรที่ใช้แรงงานแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญูและการขอขมาลาโทษ ได้แก่ ขวัญข้าวขวัญควาย และการฮ้องขวัญสิ่งของเพื่อเสริมสร้างความอุ่นใจแก่เจ้าของผู้ใช้ ได้แก่ ขวัญบ้าน ขวัญเสาเรือน ขวัญเกวียน เป็นต้น

      “ฮ้วงขวัญหรือเฮียกขวัญ” ก็คือพิธีเรียกขวัญนั่นเอง  จะทำให้มีจิตใจอันไม่สงบ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะต้องทำพิธีฮ้องขวัญหรือเรียกขวัญนี้ขึ้น เพื่อรับขวัญให้กลับคืนมาโดยสมบูรณ์ และการทำพิธีฮ้องขวัญนี้ นอกจากคนที่ประสบกับการดังกล่าว ก็มีคนเจ็บไข้ได้ป่วยที่จะต้องล้มหมอนนอนเสื่อเป็นเวลาแรมเดือนก็จะมีจิตใจอ่อนไหว ก็จะต้องทำพิธีเรียกขวัญด้วย

      ในการประกอบพิธีฮ้องขวัญของชาวล้านนา ต้องอาศัยผู้ที่มีภูมิความรู้ความชำนาญในการจัดพิธีกรรม โดยผู้ประกอบพิธีส่วนใหญ่เป็นเพศชายและผ่านการบวชมาแล้ว เรียกว่า หมอขวัญ อาจารย์วัด (ปู่วัด) พ่อหนานทำหน้าที่เป็นผู้เรียกขวัญใช้บทเรียกขวัญที่มีเนื้อหาปฎิภาณไหวพริบโน้มน้าวเชิญชวนให้ขวัญกลับเข้ามามีสำเนียงน้ำเสียงสุภาพอ่อนโยนมีภาษาบาลีประกอบบ้างเพียงเล็กน้อยเพื่อเพิ่มความขลังและศักดิ์สิทธิ์ของพิธี การ “ฮ้องขวัญ” จะต้องทำบายศรีทำนองเดียวกับบายศรีปากชาม แต่ทางเหนือนิยมทำบายศรีในขัน หรือที่เรียกว่า “สะหลุง” ทำด้วยเงินหรือเครื่องเขินและมีพานรองรับอีกชั้นหนึ่ง มีข้าวปั้น กล้วย 1 ใบ ไข่ต้ม 1 ลูก และดอกไม้ธูปเทียน และด้ายขาวสำหรับผูกมือ การทำบายศรีนี้เห็นนิยมใช้ในการทำบุญอื่นๆ เช่น ขึ้นเรือนใหม่ แต่งงาน เป็นต้น การทำพิธีก็ต้องมีอาจารย์เป้นผู้กล่าวคำฮ้องขวัญ ด้วยสำนวนโวหารแบบโบราณ ที่เกจิอาจารย์แต่งไว้อย่างคล้องจองและมีท่วงทำนองการอ่านอย่างน่าฟัง เพื่อให้คนที่ได้รับการ “ฮ้องขวัญ” เกิดกำลังใจขึ้น โวหารในการ “ฮ้องขวัญ” ก็มีอยู่ว่า ขวัญทั้ง 32 ขวัญนั้นอยู่ในตัวบุคคลที่ไหนบ้าง และหากขวัญแห่งใดหายไปก็ขอให้กลับคืนมาอยู่กับเนื้อกับตัวเสีย การอ่านโองการประมาณ 10-15 นาทีก็จบ แล้วอาจารย์ก็จะผูกมือให้ โดยผูกมือข้างซ้ายก่อน มีความว่า มัดมือซ้ายขวัญมา มัดมือขวาขวัญอยู่ ขอให้ขวัญจงกลับมาอยู่กับเนื้อกับตัวอย่าล่องลอยไปไหนอีก และขอให้มีอายุมั่นยืนยาวตลอดไปเทอญ เป็นจบพิธี การผูกมือต้องผูกทั้งสองข้าง บางคนก็จะผูกติดตัวไว้ถึง 3 วันจึงเอาออก แต่เด็กๆ เห็นผูกจนด้ายดิบสีขาวกลายเป็นสีดำไปก็มี

      การ “ส่งแถน” เป็นการ “ส่งเคราะห์” อีกแบบหนึ่ง การ “ส่งแถน” นี้จะทำเมื่อมีการเจ็บป่วยเกิดขึ้นแก่บุคคลในครอบครัว และเมื่อได้รักษาพยาบาลมาพอสมควรอาการก็ไม่ทุเลาลง มีแต่ทรงกับทรุดเช่นนี้ตามจารีตของคนเมือง (หรือไทยยวน) ก็จะไปให้ “หมอเมื่อ” (หมอดู) ตรวจดวงชะตาของผู้ป่วยว่า ชะตาจะถึงฆาตหรือไม่ ดวงยังดีอยู่ไหม หากหมอเห็นว่าเกณฑ์ชะตาค่อนข้างแย่ ก็จะพลิกตำราการ “ส่งแถน” ออกมาดูว่าคนเกิดปีไหน อายุเท่าไรจะถึงฆาต และจะต้องทำการ “ส่งแถน” สะเดาะเคราะห์ และจะต้องทำพิธีอย่างไรบ้าง เรื่องนี้ก็ตกอยู่ในหน้าที่ของ “อาจารย์” หรือจะเรียกกันว่า “ปู่อาจารย์” เพราะส่วนมากพวกเป็น “อาจารย์หรือปู่อาจารย์” นี้ก็จะเป็นผู้ที่เคยบวชพระมาก่อน อ่านหนังสือพื้นเมืองได้ และมีอายุเลยวัยกลางคนไปแล้ว

      การที่มีการ “ส่งแถน” นี้ ตามที่ปรากฎในคัมภีร์พื้นเมือง ซึ่งคัดลอกสืบต่อกันมาช้านานแล้วนั้น แสดงถึงความเชื่อถือของคนในยุคนั้นว่า เขาเชื่อกันว่ามนุษย์ชายหญิงคู่แรกของโลก ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ในปัจจุบันก็คือ “ปู่แถน-ย่าแถน” และเกิดมาตามปีสิบสองนักษัตร ซึ่งปู่แถนย่าจะได้ตราไว้ว่า เมื่อมีอายุเท่านั้นจะเจ็บเป็นอย่างนั้น หากได้ส่งแถนเสียแล้ว จึงค่อยบรรเทาหรือหายจากโรคพยาธินั้นๆ และควรจะให้ทานวัตถุของนั้นๆ ไปให้ผู้กำเนิดคือ “ปู่แถน-ย่าแถน”

      ในคัมภีร์พื้นเมืองจะแจ้งรายละเอียดว่า ปีใดผู้ใดเกิดปีไหนควรจะมีอายุเท่าไร เช่นว่า “ผู้ใดเกิดปีกดสะง้า (ปีมะเมีย) มัดศอกจูงมา ปีเต่าสะง้า ขี่สำเภามาปีกาบสะง้า ท่านขี่หมามา ปีระวายสะง้า ถือการสะบัด (ตาลปัตร) มา ขี่หมากางร่มมา ปีเปิกสะง้า ถือคากางร่มมา จูงวัวถือไม้เท้า จากตีนแถนนา มีสติปัญญา มักสอนท่าน พระยาภูมิศาสตร์ปั้นเบ้า หื้อแถนพ่อลงหล่อ ธาตุไปใจรีบ (คือใจร้อน) ไม่กลัวใคร มีตัวไม่หมดไม่ใส มักเป็นแผล ให้ส่งไปหาพ่อแม่มีเบี้ย 1,000 ฝ้าย 1,000 เกลือก้อนหนึ่ง ไก่สองตัว เป็นตัวหนึ่ง ปลาตัวหนึ่ง ส่งเสียจักมีข้าวของสมบัติ อายุได้ 29 ปี จักได้หนีเสียเจ้าที่อยู่ 27 ปีหนหนึ่ง 50 ปี จักตาย ดังได้ส่งเสีย ก็จักอายุยืนไปอีก 10 ปี ล้ำนั้นไปก็อยู่ด้วยบุญแลฯ”


พิธีกรรม

การทำพิธีฮ้องขวัญ ท่านให้ทำขันครู (ขั้นตั้ง) ให้พ่อหมอหรืออาจารย์ผู้ทำพิธีนั้น

ขั้นตั้งครูอาจารย์
   1. สวยหมาก 4 สวย พลู 4 สวย
สวยหมาก-พลู
       2.สวยดอก 4 สวย
สวยดอก

    3.เทียนน้อย 4 คู่
เทียนน้อย
     4.เทียนเล่มละ 1 บาท 2 คู่
เทียน
     5.ข้าวเปลือก 1 ลิตร
ข้าวเปลือก
     6.ข้าวสาร 1 ลิตร
ข้าวสาร
     7.เบี้ยพันสาม
เบี้ย
     8.หมากพันสาม
หมาก
     9.ผ้าขาว - ผ้าแดง
ผ้าขาว - ผ้าแดง
     10.เงิน 3 บาท
เงิน


      แต่งดาใส่ขันตั้งให้หมด บายศรีฮ้องขวัญ การฮ้องขวัญนั้นให้แต่งเครื่องข้าวขวัญคือ ทำเครื่องขันบายศรีปักด้วยดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมหลายสี หลายอย่างเป็นพุ่มพวงงามมีด้าย 9 เส้นรอบเวียนบายศรี ข้างในขันให้ใส่ข้าวปลาอาหารต่าง ๆ พร้อมทั้งเครื่องคาว - หวานเมื่อแต่งดาเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ทำพิธีฮ้องขวัญ การฮ้องขวัญ ก่อนฮ้องขวัญต้องทำพิธีกล่าว ทำปัดเคราะห์ ปัดภัยเสียก่อน โดยพ่อหมอหรืออาจารย์จะกล่าวคำปัดเคราะห์ ปัดภัยเป็นภาษาพื้นเมือง เมื่อกล่าวคำปัดเคราะห์ปัดภัยเสร็จหมดแล้วจะทำพิธีกล่าวคำฮ้องขวัญต่อไป พร้อมทั้งมีการมัดมือด้วยด้าย 9 เส้นเริ่มจากข้อมือซ้ายก่อนแล้วมัดข้อมือขวา ในระหว่างที่มัดข้อมือพ่อหมอหรืออาจารย์ก็จะกล่าวคำให้พรตลอด จนกว่าจะเสร็จ


      สาระตั้งแต่โบราณมา คนพื้นเมืองเมื่อมีผู้ใดผู้หนึ่งเจ็บไข้ได้ป่วยผอมเหลืองกินไม่ได้นอนไม่หลับเป็นเวลาหลายวัน หรือสะดุ้งตกใจกลัวเมื่อพบเห็นสิ่งที่หวาดเสียวน่ากลัว และประสบปัทวเหตุสยดสยอง อาจทำให้ขวัญหนีดีฝ่อเหล่านี้ ญาติพี่น้องจะช่วยกันจัดแต่งขันตั้งเครื่องบายศรีเพื่อฮ้องขวัญให้กับผู้ ประสบเหตุนั้นและเพื่อให้เป็นขวัญกำลังใจและเกิดความเป็นสิริมงคลแก่ผู้ที่เจ็บไข้ได้ป่วยนั้น

ประเพณีตานต๊อด

  

      
       คำว่า “ตาน” มาจากคำว่า ทาน หรือการให้ทาน ส่วนคำว่า “ตอด” หรือ "ต๊อด" เป็นภาษาถิ่นล้านนา หรือออกเสียงภาษากลางว่า ทอด คือการเอาของไปวางไว้ วางทอดไว้

     “ตานตอด” เป็นประเพณีที่งดงามแสดงถึงความมีน้ำใจไมตรี ความเอื้ออาทรซึ่งกันและกันในสังคมชนบท  ส่วนใหญ่จะทำกันในช่วงฤดูหนาวซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังการเก็บเกี่ยวและผู้คนในชนบทจะมีเวลาว่างจากการทำไร่ไถนา  การตานตอดนี้คนในชุมชนจะรวมตัวกันเพื่อพิจารณาว่าคนในหมู่บ้านหรือในชุมชนที่มีความขัดสน มีความยากไร้ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองหรือไม่สามารถทำมาหาเลี้ยงชีพได้  โดยเฉพาะผู้เฒ่าผู้แก่ที่ไม่มี ลูกหลานคอยดูแล  หลังจากนั้นคนในชุมชนจะร่วมบริจาคทรัพย์ ข้าวของเครื่องใช้ เสื้อผ้า อาหาร ยารักษาโรคต่างๆ ตามแต่กำลังของแต่ละคนที่พอจะช่วยกันได้ เมื่อได้รับข้าวของเครื่องใช้แล้วก็กำหนดวันที่ จะทำการตานตอด  โดยจะเริ่มในเวลากลางคืนและเป็นเวลาที่ผู้คนเข้านอนกันแล้ว ชาวบ้านจะนัดชุมนุมกัน ที่วัดโดยไม่ให้ผู้จะรับการตานตอดรู้ล่วงหน้า เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้วชาวบ้านก็จะช่วยกันนำสิ่งของเครื่องใช้ เหล่านั้น  ไปยังบ้านผู้ที่ชาวบ้านจะมอบให้ด้วยความสงบ  ทุกคนจะเดินตามกันไปอย่างเงียบๆ โดยมีผู้นำหมู่บ้านหรือผู้อาวุโสของชุมชนเป็นผู้นำขบวน  เมื่อไปถึงยังบ้านนั้นแล้วทุกคนจะนำข้าวของไปวางไว้ที่ หน้าบ้านอย่างเงียบๆ  จากนั้นทุกคนจะพากันไปแอบอยู่ตามพุ่มไม้บ้าง ตามแนวรั้วบ้านบ้างเพื่อไม่ให้เจ้าของบ้าน หรือผู้ที่รับทานเห็น  หลังจากนั้นก็จะทำการจุดประทัดแล้วโยนเข้าไปใต้ถุนบ้านบ้าง  เอาก้อนหินปาที่ข้างฝาบ้าน บ้างเพื่อให้ผู้เป็นเจ้าของบ้านนั้นตกใจตื่น  เท่านั้นเองผู้เขียนเห็นแสงตะเกียงในบ้านผู้เฒ่าผู้แก่นั้นถูกจุดขึ้น  พร้อมกับเสียงตะโกนด่าของแม่เฒ่าคนหนึ่ง  พร้อมทั้งเปิดประตูบ้านออกมาดูพอเปิดประตูออกมาเท่านั้นเอง สิ่งที่เห็นคือข้าวของเครื่องใช้และเครื่องดำรงชีพอีกมากมายกองอยู่ สิ้นสุดจากเสียงตะโกนด่าสิ่งที่พร่างพลู ออกมาคือรอยยิ้มของแม่เฒ่ากับสายน้ำตาแห่งความตื้นตันใจ  ผู้เขียนเองถึงแม้จะยังเล็กแต่ก็ยังจำความได้ดี  และมีน้ำตาซึมออกมาเช่นเดียวกับแม่เฒ่านั้น  เมื่อเหลือบไปมองคนรอบๆ ข้าง ความรู้สึกของทุกคนที่อยู่ที่นั่น ขณะนั้นก็ไม่ต่างไปจากผู้เขียนเท่าใดนัก  เสียงตะโกนด่าจากแม่เฒ่าเปลี่ยนเป็นคำว่า “สาตุ๊” ภาษากลางออกเสียงว่า “สาธุ”  พร้อมกับให้พรเป็นภาษาเหนือ  เมื่อพรของแม่เฒ่าจบลง ก็มีเสียงดังกระหึ่มออกมาจากท่ามกลางความมืดพร้อมๆ กันว่า สาตุ๊  สาตุ๊  สาตุ๊ 

      คำว่า “ตาน” หรือ “ทาน” นี้หมายถึงการให้หรือการสละข้าวของอันเป็นของตนเพื่อเผื่อแผ่และเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นด้วยความเต็มใจ การให้ทานนั้นถือเป็นพื้นฐานของมวลมนุษยชาติ  โดยเฉพาะพุทธศาสนิกชน  เรารู้จักการให้ทานมาตั้งแต่เกิดโดยที่เราไม่รู้ตัว  เมื่อยามเยาว์เราได้รับการอบรมสั่งสอนให้รู้จักแบ่งปันอาหารและข้าวของต่างๆ ให้เพื่อนที่โรงเรียน  นั่นก็คือ การให้ทาน ครู-อาจารย์ที่ให้การอบรมสั่งสอนลูกศิษย์   พระสงฆ์องค์เจ้าที่คอยเทศนาธรรมโปรดบุคคลทั่วไป ก็ถือเป็นการให้ทาน  ทานที่ว่าก็คือวิทยาทานหรือความรู้ต่างๆ  พ่อแม่ดูแลลูกให้เสื้อผ้าอาหาร บุตรเลี้ยงดูบุพการี เหล่านี้ก้อคือการให้ทานทั้งสิ้น  ดังนั้นคำว่า “ตาน” หรือ “ทาน”

     ในหลักพระพุทธศาสนาจึงมีอยู่หลายประเภทกล่าว คือ
๑. อามิสทาน คือ การให้วัตถุสิ่งของเป็นทาน
๒. ธรรมทานหรือวิทยาทาน คือ การให้ความรู้เป็นทาน
๓. อภัยทาน คือ การสละอารมณ์โกรธ การให้อภัยและการไม่จองเวรซึ่งกันและกัน
จุดมุ่งหมายของการให้ทาน
๑. ให้เพื่อทำคุณ ให้เพื่อยึดเหนี่ยวใจเพื่อให้เกิดความรักความนิยมชมชอบแก่ผู้ให้
๒. ให้เพื่อนุเคราะห์ เป็นการให้เพื่อค้ำจุน เผื่อแผ่แก่บุคคลอื่นให้มีความสุข
๓. ให้เพื่อบูชาคุณเพื่อเป็นการตอบแทนพระคุณต่อผู้ให้การอุปการะและได้ช่วยเหลือ
เกื้อกูลเรามา  เป็นเครื่องหมายแห่งความกตัญญูกตเวทิตา


พิธีกรรมตานต๊อด
      พิธีการทำบุญ “ตานต๊อด”หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ตานต๊อดผ้าป่า”  เป็นการช่วยเหลือหรือสงเคราะห์กันเองของชาวบ้าน เรียกว่า ทานมัย  ถือเป็นการสร้างกุศลอันยิ่งใหญ่ และชาวบ้านมีความเชื่อว่าหากทำให้ผู้ที่ได้รับตกใจมากเท่าใด ก็ยิ่งได้บุญกุศลมาก และในแต่ละปีจะทำวันใดก็ได้ไม่จำกัด ขึ้นอยู่กับความเดือดร้อนของเพื่อนบ้าน หรือพระสงฆ์ก็ได้  ประเพณีการตานต๊อด  โดยมีผู้นำในการตานต๊อด อาจจะเป็นผู้นำชุมชน หรือผู้ใหญ่บ้าน กำนัน พระภิกษุสงฆ์  หรือบุคคลทั่วไปที่มีความประสงค์ต้องการทำบุญโดยมีรายละเอียดและขั้นตอนพิธีกรรม ดังนี้
      จัดประชุมชาวบ้าน เพื่อปรึกษาหารือและสำรวจความคิดเห็นว่า บุคคลใดในหมู่บ้านที่ได้รับความเดือดร้อน สมควรได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนบ้าน และนัดหมายเวลา พร้อมจุดนัดพบเพื่อรวมตัวกันไปทำพิธีตานต๊อด ณ บ้านของเพื่อนบ้านที่ต้องการจะช่วยเหลือการเตรียมงานเริ่มที่บ้านหรือศาลาวัด เพื่อรวบรวมสิ่งของให้ครบทั้งเครื่องอุปโภค และบริโภค ตลอดจนเครื่องมือ เครื่องใช้ ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต อาทิ  ข้าวสารอาหารแห้ง  ปลากระป๋อง  พริกแห้ง  กะปิ  น้ำปลา เกลือหัวหอม หัวกระเทียม  น้ำมันพืช  ขนม นม  ฯลฯ  และถ้าเป็นของใช้ ได้แก่  สบู่ ยาสีฟัน  ผงซักฟอก  ยาสระผม  มีด พร้า ขวาน  จอบ  เสียม  หม้อข้าว  หม้อแกง  ถ้วย ชาม หม้อน้ำ  หม้อนึ่งข้าว  เสื่อสาด หมอน มุ้ง  รองเท้า  เสื้อผ้า  ผ้าขาวม้า  ผ้าเช็ดตัว  ฯลฯ แล้วแต่จิตศรัทธาจะทำบุญ นำสิ่งของทั้งหมดมาแต่งดา และอาจมีต้นเงินเพื่อนำเงินที่ชาวบ้านทำบุญมาเสียบไว้ที่ต้นเงิน จัดทำกันแบบเงียบ ๆ และเรียบง่ายไม่มีพิธีรีตองโดยรู้กันเฉพาะกลุ่มที่จะทำบุญเท่านั้น ใครรู้ก็มาช่วยกัน


 

      การตานต๊อด  จะทำในเวลากลางคืน เวลาประมาณ  ๔ - ๕ ทุ่ม  เมื่อชาวบ้านมารวมตัวกันนัดพบหรือจุดที่เตรียมของแล้ว  อาจนิมนต์พระสงฆ์มาทำพิธี หรือคนที่เคยบวชเรียนมาแล้ว ชาวบ้านเรียกว่า “พ่อหนาน” จะเป็นผู้ทำพิธีสวดและพรมน้ำมนต์สิ่งของทั้งหมดที่จะตานต๊อด  เพื่อความเป็นสิริมงคลแล้วจึงช่วยกันถือของที่จะตานต๊อดพากันเดินไปยังบ้านหรือกุฏิอย่างเงียบ ๆ ไม่ส่งเสียงดังแล้วนำเอาของทั้งหมดไปวางไว้บริเวณหน้าบ้าน เช่น  หัวกระไดบ้าน หรือหน้ากุฏิ  เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็จุดเทียน ธูปบูชา ตั้งจิตภาวนา เอาบุญเสร็จแล้ว จึงจุดประทัดชนิดต่าง ๆ ที่มีเสียงดัง เพื่อให้เจ้าของบ้านตกใจตื่น ส่วนคณะศรัทธาเจ้าภาพที่มากันทุกคน ก็พากันหลบซ่อนหมดไม่ให้เห็นตัว คอยแอบดูว่าผู้รับจะออกมารับด้วยวิธีใด เมื่อเจ้าของบ้านเปิดประตูออกมาจะเห็นเทียนจุดอยู่หลายเล่มใกล้ ๆ กับสิ่งของที่นำไปให้ก็จะทราบว่ามีคนเอาของมาวางไว้ให้ ถ้าคนเคยบวชเรียนมาแล้วก็จะกล่าวว่า “อิทังเป๋นะปะติถัง”“นี่เป็นของผีหรือของคน”แล้วเข้าไปจุดธูปไหว้พระในบ้าน ทำเช่นนี้ประมาณ ๓  ครั้ง จึงพูดว่า “เห็นทีจะเป็นของคนแน่แล้ว จะรับไว้แล้วนะ ขอให้รับพรด้วย”แล้วก็กล่าวคำให้ศีลให้พรคณะศรัทธาทั้งหมดที่หมอบอยู่ก็พากันยกมือไหว้รับพร เสร็จแล้วจึงแยกย้ายกันกลับบ้านด้วยความอิ่มเอมใจในผลบุญที่ได้ทำร่วมกัน

ประวัติผู้จัดทำ


★ นางสาววนิดา เหลียวพัฒนพงศ์ ★



ชื่อ นางสาววนิดา เหลียวพัฒนพงศ์
วัน เดือน ปีเกิด 24 กรกฎาคม 2536
ที่อยู่ปัจจุบัน 173 หมู่ 4 ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย รหัสไปรษณีย์ 57150
โทรศัพท์ 0882336013
Email: oauni@hotmail.com
ข้อมูลการศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม จังหวัดเชียงราย

★ นางสาวฝนทิพย์ ผามั่ง ★



ชื่อ นางสาวฝนทิพย์ ผามั่ง
วัน เดือน ปีเกิด 20 กุมภาพันธ์ 2533
ที่อยู่ปัจจุบัน 54 หมู่ 1 ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย รหัสไปรษณีย์ 57100
โทรศัพท์ 0884101920
Email: mukdarat_1990@hotmail.co.th
ข้อมูลการศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนแม่ยาววิทยา จังหวัดเชียงราย
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เอกการบัญชี วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย

★ นางสาวอภิญญา สมฟองทอง ★



ชื่อ นางสาวอภิญญา สมฟองทอง
วัน เดือน ปีเกิด 6 มีนาคม 2536
ที่อยู่ปัจจุบัน 96 หมู่ 11 ตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย รหัสไปรษณีย์ 57110
โทรศัพท์ 0901329660
Email: aefaef_apinya@hotmail.com
ข้อมูลการศึกษา มัธยมศึกษาศึกษา 1-6 โรงเรียนแม่จันวิทยาคม จังหวัดเชียงราย

แหล่งที่มา

http://board.palungjit.org

http://pre.onab.go.th

http://talk.mthai.com

http://www.thongthailand.com

http://www.chiangmaipao.go.th

http://www.myfirstbrain.com

http://www.prapayneethai.com