ประเพณีท้องถิ่นล้านนา

ประเพณีฮ้องขวัญ


      คำว่า “ขวัญ” หมายถึง ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย… สิ่งที่ไม่มีตัวตนเชื่อกันว่ามีอยู่ประจำชีวิตของคนมาตั้งแต่เกิด ถ้าขวัญอยู่กับตัว ก็จะเป็นสิริมงคล เป็นสุขสบาย จิตใจมั่นคง ถ้าตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็จะออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ทำให้คนได้รับผลร้ายต่าง ๆ…และอนุโลมใช้ไปถึงสัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ ว่ามีขวัญเช่นเดียวกับคนเหมือนกัน
     ชาวล้านนามีความเชื่อกันว่าขวัญจะอยู่ประจำตัวเป็นพลังที่ช่วยในการปกป้องรักษาเจ้าของขวัญให้มีความอยู่
เย็นเป็นสุขไม่ เจ็บไม่ป่วย
  แต่เมื่อใดที่ขวัญอ่อนลงหรือออกจากร่างจะเป็นเหตุให้สภาวะของร่างกายและจิตใจของเจ้าของขวัญรู้สึกเสียใจ ตกใจ ท้อใจ อาจเรียกได้ว่า ขวัญหาย ขวัญหนีดีฝ่อ ขวัญเสียหรือเสียขวัญ ทำให้เจ้าของขวัญเจ็บป่วย กินไม่ได้นอนไม่หลับ ไม่มีกำลังใจ ในการดำเนินชีวิต ถ้าต้องการให้ขวัญกลับคืนสู่ตัวและชีวิตเป็นปกติสุข จำเป็นต้องทำ พิธีฮ้องขวัญ และโอกาสที่ใช้ในการฮ้องขวัญมีหลายลักษณะ เช่น การฮ้องขวัญเกี่ยวกับคน ได้แก่ การเรียกขวัญคนเจ็บไข้ได้ป่วย ขวัญคนที่ประสบอุบัติเหตุ ขวัญเด็ก ขวัญสามเณร ขวัญนาค ขวัญบ่าวสาว ขวัญผู้ใหญ่ที่เคารพ การฮ้องขวัญของผู้ที่มีการเปลี่ยนผ่านสถานภาพ (เปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่ การงาน เปลี่ยนที่อยู่อาศัย จบการศึกษา)

      การฮ้องขวัญผู้มาเยือนเป็นการสร้างความสัมพันธ์ให้เกียรติแขกที่มาเยือน การฮ้อง ขวัญหลังจากการทำเกษตรที่ใช้แรงงานแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญูและการขอขมาลาโทษ ได้แก่ ขวัญข้าวขวัญควาย และการฮ้องขวัญสิ่งของเพื่อเสริมสร้างความอุ่นใจแก่เจ้าของผู้ใช้ ได้แก่ ขวัญบ้าน ขวัญเสาเรือน ขวัญเกวียน เป็นต้น

      “ฮ้วงขวัญหรือเฮียกขวัญ” ก็คือพิธีเรียกขวัญนั่นเอง  จะทำให้มีจิตใจอันไม่สงบ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะต้องทำพิธีฮ้องขวัญหรือเรียกขวัญนี้ขึ้น เพื่อรับขวัญให้กลับคืนมาโดยสมบูรณ์ และการทำพิธีฮ้องขวัญนี้ นอกจากคนที่ประสบกับการดังกล่าว ก็มีคนเจ็บไข้ได้ป่วยที่จะต้องล้มหมอนนอนเสื่อเป็นเวลาแรมเดือนก็จะมีจิตใจอ่อนไหว ก็จะต้องทำพิธีเรียกขวัญด้วย

      ในการประกอบพิธีฮ้องขวัญของชาวล้านนา ต้องอาศัยผู้ที่มีภูมิความรู้ความชำนาญในการจัดพิธีกรรม โดยผู้ประกอบพิธีส่วนใหญ่เป็นเพศชายและผ่านการบวชมาแล้ว เรียกว่า หมอขวัญ อาจารย์วัด (ปู่วัด) พ่อหนานทำหน้าที่เป็นผู้เรียกขวัญใช้บทเรียกขวัญที่มีเนื้อหาปฎิภาณไหวพริบโน้มน้าวเชิญชวนให้ขวัญกลับเข้ามามีสำเนียงน้ำเสียงสุภาพอ่อนโยนมีภาษาบาลีประกอบบ้างเพียงเล็กน้อยเพื่อเพิ่มความขลังและศักดิ์สิทธิ์ของพิธี การ “ฮ้องขวัญ” จะต้องทำบายศรีทำนองเดียวกับบายศรีปากชาม แต่ทางเหนือนิยมทำบายศรีในขัน หรือที่เรียกว่า “สะหลุง” ทำด้วยเงินหรือเครื่องเขินและมีพานรองรับอีกชั้นหนึ่ง มีข้าวปั้น กล้วย 1 ใบ ไข่ต้ม 1 ลูก และดอกไม้ธูปเทียน และด้ายขาวสำหรับผูกมือ การทำบายศรีนี้เห็นนิยมใช้ในการทำบุญอื่นๆ เช่น ขึ้นเรือนใหม่ แต่งงาน เป็นต้น การทำพิธีก็ต้องมีอาจารย์เป้นผู้กล่าวคำฮ้องขวัญ ด้วยสำนวนโวหารแบบโบราณ ที่เกจิอาจารย์แต่งไว้อย่างคล้องจองและมีท่วงทำนองการอ่านอย่างน่าฟัง เพื่อให้คนที่ได้รับการ “ฮ้องขวัญ” เกิดกำลังใจขึ้น โวหารในการ “ฮ้องขวัญ” ก็มีอยู่ว่า ขวัญทั้ง 32 ขวัญนั้นอยู่ในตัวบุคคลที่ไหนบ้าง และหากขวัญแห่งใดหายไปก็ขอให้กลับคืนมาอยู่กับเนื้อกับตัวเสีย การอ่านโองการประมาณ 10-15 นาทีก็จบ แล้วอาจารย์ก็จะผูกมือให้ โดยผูกมือข้างซ้ายก่อน มีความว่า มัดมือซ้ายขวัญมา มัดมือขวาขวัญอยู่ ขอให้ขวัญจงกลับมาอยู่กับเนื้อกับตัวอย่าล่องลอยไปไหนอีก และขอให้มีอายุมั่นยืนยาวตลอดไปเทอญ เป็นจบพิธี การผูกมือต้องผูกทั้งสองข้าง บางคนก็จะผูกติดตัวไว้ถึง 3 วันจึงเอาออก แต่เด็กๆ เห็นผูกจนด้ายดิบสีขาวกลายเป็นสีดำไปก็มี

      การ “ส่งแถน” เป็นการ “ส่งเคราะห์” อีกแบบหนึ่ง การ “ส่งแถน” นี้จะทำเมื่อมีการเจ็บป่วยเกิดขึ้นแก่บุคคลในครอบครัว และเมื่อได้รักษาพยาบาลมาพอสมควรอาการก็ไม่ทุเลาลง มีแต่ทรงกับทรุดเช่นนี้ตามจารีตของคนเมือง (หรือไทยยวน) ก็จะไปให้ “หมอเมื่อ” (หมอดู) ตรวจดวงชะตาของผู้ป่วยว่า ชะตาจะถึงฆาตหรือไม่ ดวงยังดีอยู่ไหม หากหมอเห็นว่าเกณฑ์ชะตาค่อนข้างแย่ ก็จะพลิกตำราการ “ส่งแถน” ออกมาดูว่าคนเกิดปีไหน อายุเท่าไรจะถึงฆาต และจะต้องทำการ “ส่งแถน” สะเดาะเคราะห์ และจะต้องทำพิธีอย่างไรบ้าง เรื่องนี้ก็ตกอยู่ในหน้าที่ของ “อาจารย์” หรือจะเรียกกันว่า “ปู่อาจารย์” เพราะส่วนมากพวกเป็น “อาจารย์หรือปู่อาจารย์” นี้ก็จะเป็นผู้ที่เคยบวชพระมาก่อน อ่านหนังสือพื้นเมืองได้ และมีอายุเลยวัยกลางคนไปแล้ว

      การที่มีการ “ส่งแถน” นี้ ตามที่ปรากฎในคัมภีร์พื้นเมือง ซึ่งคัดลอกสืบต่อกันมาช้านานแล้วนั้น แสดงถึงความเชื่อถือของคนในยุคนั้นว่า เขาเชื่อกันว่ามนุษย์ชายหญิงคู่แรกของโลก ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ในปัจจุบันก็คือ “ปู่แถน-ย่าแถน” และเกิดมาตามปีสิบสองนักษัตร ซึ่งปู่แถนย่าจะได้ตราไว้ว่า เมื่อมีอายุเท่านั้นจะเจ็บเป็นอย่างนั้น หากได้ส่งแถนเสียแล้ว จึงค่อยบรรเทาหรือหายจากโรคพยาธินั้นๆ และควรจะให้ทานวัตถุของนั้นๆ ไปให้ผู้กำเนิดคือ “ปู่แถน-ย่าแถน”

      ในคัมภีร์พื้นเมืองจะแจ้งรายละเอียดว่า ปีใดผู้ใดเกิดปีไหนควรจะมีอายุเท่าไร เช่นว่า “ผู้ใดเกิดปีกดสะง้า (ปีมะเมีย) มัดศอกจูงมา ปีเต่าสะง้า ขี่สำเภามาปีกาบสะง้า ท่านขี่หมามา ปีระวายสะง้า ถือการสะบัด (ตาลปัตร) มา ขี่หมากางร่มมา ปีเปิกสะง้า ถือคากางร่มมา จูงวัวถือไม้เท้า จากตีนแถนนา มีสติปัญญา มักสอนท่าน พระยาภูมิศาสตร์ปั้นเบ้า หื้อแถนพ่อลงหล่อ ธาตุไปใจรีบ (คือใจร้อน) ไม่กลัวใคร มีตัวไม่หมดไม่ใส มักเป็นแผล ให้ส่งไปหาพ่อแม่มีเบี้ย 1,000 ฝ้าย 1,000 เกลือก้อนหนึ่ง ไก่สองตัว เป็นตัวหนึ่ง ปลาตัวหนึ่ง ส่งเสียจักมีข้าวของสมบัติ อายุได้ 29 ปี จักได้หนีเสียเจ้าที่อยู่ 27 ปีหนหนึ่ง 50 ปี จักตาย ดังได้ส่งเสีย ก็จักอายุยืนไปอีก 10 ปี ล้ำนั้นไปก็อยู่ด้วยบุญแลฯ”


พิธีกรรม

การทำพิธีฮ้องขวัญ ท่านให้ทำขันครู (ขั้นตั้ง) ให้พ่อหมอหรืออาจารย์ผู้ทำพิธีนั้น

ขั้นตั้งครูอาจารย์
   1. สวยหมาก 4 สวย พลู 4 สวย
สวยหมาก-พลู
       2.สวยดอก 4 สวย
สวยดอก

    3.เทียนน้อย 4 คู่
เทียนน้อย
     4.เทียนเล่มละ 1 บาท 2 คู่
เทียน
     5.ข้าวเปลือก 1 ลิตร
ข้าวเปลือก
     6.ข้าวสาร 1 ลิตร
ข้าวสาร
     7.เบี้ยพันสาม
เบี้ย
     8.หมากพันสาม
หมาก
     9.ผ้าขาว - ผ้าแดง
ผ้าขาว - ผ้าแดง
     10.เงิน 3 บาท
เงิน


      แต่งดาใส่ขันตั้งให้หมด บายศรีฮ้องขวัญ การฮ้องขวัญนั้นให้แต่งเครื่องข้าวขวัญคือ ทำเครื่องขันบายศรีปักด้วยดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมหลายสี หลายอย่างเป็นพุ่มพวงงามมีด้าย 9 เส้นรอบเวียนบายศรี ข้างในขันให้ใส่ข้าวปลาอาหารต่าง ๆ พร้อมทั้งเครื่องคาว - หวานเมื่อแต่งดาเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ทำพิธีฮ้องขวัญ การฮ้องขวัญ ก่อนฮ้องขวัญต้องทำพิธีกล่าว ทำปัดเคราะห์ ปัดภัยเสียก่อน โดยพ่อหมอหรืออาจารย์จะกล่าวคำปัดเคราะห์ ปัดภัยเป็นภาษาพื้นเมือง เมื่อกล่าวคำปัดเคราะห์ปัดภัยเสร็จหมดแล้วจะทำพิธีกล่าวคำฮ้องขวัญต่อไป พร้อมทั้งมีการมัดมือด้วยด้าย 9 เส้นเริ่มจากข้อมือซ้ายก่อนแล้วมัดข้อมือขวา ในระหว่างที่มัดข้อมือพ่อหมอหรืออาจารย์ก็จะกล่าวคำให้พรตลอด จนกว่าจะเสร็จ


      สาระตั้งแต่โบราณมา คนพื้นเมืองเมื่อมีผู้ใดผู้หนึ่งเจ็บไข้ได้ป่วยผอมเหลืองกินไม่ได้นอนไม่หลับเป็นเวลาหลายวัน หรือสะดุ้งตกใจกลัวเมื่อพบเห็นสิ่งที่หวาดเสียวน่ากลัว และประสบปัทวเหตุสยดสยอง อาจทำให้ขวัญหนีดีฝ่อเหล่านี้ ญาติพี่น้องจะช่วยกันจัดแต่งขันตั้งเครื่องบายศรีเพื่อฮ้องขวัญให้กับผู้ ประสบเหตุนั้นและเพื่อให้เป็นขวัญกำลังใจและเกิดความเป็นสิริมงคลแก่ผู้ที่เจ็บไข้ได้ป่วยนั้น

0 ความคิดเห็น: