ประเพณีท้องถิ่นล้านนา

ประเพณีสืบชะตา

      ประเพณีสืบชะตาเป็นประเพณีที่ผูกพันกับวิถีชีวิตของคนลำปางอย่างแน่นแฟ้นสืบทอดกันมาแต่โบราณกาล
เพราะมีความเชื่อมั่นว่าพิธีสืบชะตานี้เป็นการต่ออายุทั้งของตัวเองและญาติพี่น้องบริวารหรือชะตาของ
บ้านเมืองให้มีอายุยืนยาวสืบไปก่อให้เกิดความสุจความเจริญอีกทั้งเป็นการขจัดภัยอันตรายต่างๆที่จะบังเกิดขึ้นให้คลาดแคล้วจากบาปเคราะห์และสิ่งชั่วร้ายทั้งมวลก่อให้เกิดขวัญและกำลังใจในการดำรงชีวิตร่วมกันของคนในสังคม ซึ่งจะมีผลส่งให้บ้าน เมืองมีความสงบสุขและมีความอุดมสมบูรณ์สืบไป

      คนสมัยก่อนมีความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ได้ศึกษาพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแตกฉานลึกซึ้งก็เลยมีความคิดที่จะมาทำให้บ้านเมืองและคนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดีจึงได้นำเอาพุทธานุภาพ ธรรมมานุภาพ สังฆานุภาพมาผสมผสานเป็นพิธีสืบชะตาขึ้นทั้งนี้เพื่อช่วยบรรเทาความทุกข์ใจความกังวลใจต่อบาปเคราะห์ต่างๆของมนุษย์ให้จางหายให้ประสบแต่เรื่องดีเรื่องเจริญเพราะยึดหลักที่ว่าผู้ใดหมั่นฟังธรรมเป็นนิจรู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน และเป็นผู้รักษาตนไม่ประมาท ย่อมจะมีชีวิตที่ยืนยาว  

 วัตถุประสงค์การสืบชะตาเพื่อให้เป็นสิริมงคล และขับไสสิ่งชั่วร้ายที่เป็นเสนียดจัญไรให้ออกไปจากบุคคลหรือสถานที่พิธีสืบชะตาเป็นประเพณีที่ได้รับอิทธิพลจากธรรมเนียมของพราหมณ์ ซึ่งได้นำมาผสมผสานกับพิธีกรรมของพุทธศาสนาได้อย่างกลมกลืน สืบชะตา มี 2 ประเภท คือ สืบชะตาคน และ สืบชะตาหมู่บ้าน


พิธีกรรม


1. สืบชะตาหลวงให้ทุกคนในครอบครัวไปนั่งรวมกันภายในบริเวณขาตั้ง สามเหลี่ยมที่จัดไว้ ถ้าสืบชะตาหน้อยจะมีผู้สืบ ชะตาคนเดียวที่ไปนั่งในขาตั้งสามเหลี่ยม

2. พระสงฆ์นำสายสิญจน์ มาผูกคอผูกสืบชะตาทุกคนแล้วเริ่มสวด

3. ใกล้จะจบพอสวดถึงคำว่า ขีณํ ปุราณํ นวํ นตํกิ สมราวิ ฯลฯ ก็จะมีผู้เฒ่าเป็นหญิงหม้ายลงไปใต้ถุนบ้าน เริ่มเผาด้ายสาย สิญจน์ ซึ่งมัดขึงไว้กับเส้นลวด โดยมีความยาวของด้ายเท่ากับ 1 วา ของผู้สืบชะตาทุกคน การเผาเรียกว่าเผาสายสิญจน์ " ค่าคิง" ผู้ป่วยจะมีอายุ ยืนยาวต่อไปหรือมีความเชื่อว่าตายแล้วจะเกิดใหม่

4.พอสวดเสร็จพิธี อาจารย์ผู้ที่อาราธนาศีล จะเป็นผู้เก็บขาตั้งสามเหลี่ยม

5. การนำไปทิ้งส่วนใหญ่จะนำไปเก็บไว้ในวัดที่มีต้นโพธิ์หรือต้นไม้ใหญ่ๆ หรืออาจจะเก็บไว้ในป่าที่มีต้นไม้ใหญ่
สาระ

การสืบชะตาคล้ายกับการสะเดาะเคราะห์แต่การสืบชะตามีขั้นตอนและวิธีการยากกว่ามีวัสดุอุปกรณ์มาก แบ่งเป็น 2 พิธี คือ

- พิธีสืบชะตาหลวง คือทำกันทั้งครอบครัว
- พิธีสืบชะตาหน้อย คือทำคนเดียว

ผู้ที่จะสืบชะตาจะเป็นคนเจ็บป่วยหรือไม่ก็ได้ แต่เห็นว่าปีหนึ่งควรจะทำเสียครั้งหนึ่งเพื่อให้อยู่อย่างมีความสุข

วัสดุที่ใช้


1. ขันตั้งประกอบด้วยของอย่างละ 4

    1.1 หมาก 4 พลู 4
หมาก-พลู
        1.2 เทียน 4 คู่

เทียน 4 คู่

    1.3 ธูป 4 คู่

ธูป 4 คู่

    1.4 ดอกไม้ 4
ดอกไม้ 4
    1.5 เงิน 5 บาท 1 สลึง(25สตางค์)
 เงิน 5 บาท 1 สลึง

    1.6 ข้าวสาร
ข้าวสาร

    1.7 ผ้าขาวผ้าแดง
ผ้าขาวผ้าแดง

2. วัสดุที่ใช้สืบชะตา

    2.1 ต้นกล้วยต้นอ้อย(ให้ความหมายว่าเกิดความงอกงามสดชื่น)
ต้นกล้วยต้นอ้อย

    2.2 ไม้ง่ามความยาวเท่าศอกของผู้สืบชะตา
ไม้ง่าม

    2.3 หมาก พลู
หมาก พลู

     2.4 ตุง (การต้ดกระดาษแก้วให้เป็นรูปตุ๊กตา)เลือกสีประจำเทวดานพเคราะห์
ตุง

     2.5 ข้าวเปลือก ข้าวสาร
ข้าวเปลือก ข้าวสาร


    2.6 ผลไม้ส่วนใหญ่จะใช้มะพร้าว กล้วยทั้งดิบและสุก
ผลไม้

    2.7 กระบอกน้ำ กระบอกทราย ใช้กระบอกไม้ไผ่ โดยมีข้อแม้ว่า " น้ำอยู่บนปลาย ทรายอยู่ล่าง "
กระบอกน้ำ กระบอกทราย ใช้กระบอกไม้ไผ่

3. วัสดุที่ใช้ประกอบ
    3.1 ด้ายสายสิญจน์
ด้ายสายสิญจน์

   3.2 บาตรน้ำมนต์ (น้ำมนต์ประกอบด้วยฝักส้มป่อยเผา แล้วห้ามเป่า นำไปแช่ในน้ำสะอาด )
บาตรน้ำมนต์


พิธีสืบชะตาบ้าน
      การสืบชะตาบ้านมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความเป็นสิริมงคลให้แก่หมู่บ้าน โดยจะประกอบพิธีกรรมที่หอเสื้อบ้านหรือศาลากลางบ้านอันเป็นศูนย์รวมในการประกอบพิธีของหมู่บ้าน
      ก่อนวันประกอบพิธี  ชาวบ้านจะช่วยกันประดับตกแต่งหอเสื้อบ้าน หรือศาลากลางบ้านให้สวยงาม ทำความสะอาดบริเวณรอบ ๆ แล้วจัดราชวัตร ปักฉัตร และธงทิว ใช้ต้นกล้วย ต้นอ้อย ประดับโดยรอบ วงด้ายสายสิญจน์รอบบริเวณพิธีทำแท่นบูชาท้าวทั้งสี่และเทพารักษ์ในบริเวณนั้นมีสิ่งของที่นำมาประกอบพิธี ได้แก่ ข้าว พริกแห้ง เกลือ ขนม ข้ามต้มดอกไม้ ธูปเทียน หมาก พลู บุหรี่ เมี่ยง ซึ่งได้มาจากการบริจาคของชาวบ้าน
      ในวันประกอบพิธี จะมีการทำบุญตักบาตรในตอนเช้า ในบริเวณพิธี หลังจากนั้นพระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถา และสวดพระปริตร เทศนาธรรมใบลาน และเทศนาธรรมสืบชุตา เพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้ายและเสนียดจัญไร หรือสิ่งอัปมงคลให้ออกไปจากหมู่บ้าน เมื่อจบพิธีแล้วก็จะปะพรมน้ำมนต์แก่ผู้มาร่วมพิธีทุกคน


พิธีสืบชะตาคน
      จะจัดทำในโอกาศต่าง ๆ กันเช่นขึ้นบ้านใหม่ภายหลังจากการเจ็บป่วยหรือทำให้โอกาสที่หมอดูทำนายทายทัก
ว่าดวงชะตาไม่ดีบางครั้งทำเพื่อสะเดาะห์เคราะห์ภายหลังจากประสบเคราะห์กรรมเมื่อสืบชะตาแล้วเชื่อว่าจะช่วยเสริมสร้างดวงชะตาให้ดีขึ้นอีกทั้งเป็นการบำรุงขวัญและกำลังใจของผู้ที่ประสบจากเคราะห์กรรมหรือผู้เจ็บป่วย ให้กลับคืนสภาพปกติ

      สถานที่ประกอบพิธีใช้บริเวณบ้านของผู้ที่จะสืบชะตา โดยจะใช้ห้องโถง ห้องรับแขก ลานบ้าน ก็ได้ สำหรับสิ่งของที่ต้องใช้ ไม้ง่ามขนาดเล็กนำมามัดรวมกัน มีจำนวนมากกว่าอายุผู้สืบชะตา 1 อัน ,ไม้ค้ำศรียาวเท่ากับความสูงของผู้เข้าพิธี 3 ท่อน นอกจากนี้มี กระบอกข้าว กระบอกทราย กระบอกน้ำ สะพานลวดเงิน-ทอง เบี้ยแถว (ใช้เปลือกหอยแทน ) หมากแถว มะพร้าวอ่อน กล้วย อ้อย หมอน เสื่อ ดอกไม้ธูปเทียนและมีเทียนชัยเล่มยาว 1 เล่ม การจัดสถานที่ใช้ไม้ค้ำศรีทำเป็นกระโจมสามเหลี่ยม ตรงกลางเป็นที่ว่างสำหรับวางสะตวงและสิ่งของเครื่อใช้ในพิธีจัดที่ว่างใกล้ๆกระโจมให้เป็นที่นั่งสำหรับผู้เข้าไปรับการสืบชะตา แล้ววนด้านสายสิญจน์ 3 รอบ โยงกับเสากระโจมทั้งสามขา แล้วนำไปพันรอบพระพุทธรูป และพระที่สวดทำพิธี

      โดยปกติการสืบชะตาคนโดยทั่วไปใช้พระสงฆ์ประกอบพิธี 9 รูป ส่วนการการสืบชะตาคนพร้อมกับขึ้นบ้านใหม่ใช้พระ 5 รุปขึ้นไป เพื่อสวดพระปริตร สวดชยันโต ให้ศีลให้พร ฟังเทศน์สังคหะและเทศน์สืบชะตาตัวแทนที่เข้าไปนั่งในสายสิญจน์คือผู้นำครอบครัวหรือผู้ที่อาวุโสสูงสุดในครอบครัว เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและครอบครัว

3 ความคิดเห็น: