ประเพณีท้องถิ่นล้านนา
  • kenburns1
  • kenburns6
  • kenburns3

ประเพณีท้องถิ่นล้านนา

ประเพณีท้องถิ่นล้านนา

   ภาคเหนือ หรือล้านนา ดินแดนแห่งความหลากหลายทางประเพณีและวัฒนธรรมที่มีความน่าสนใจไม่น้อยไปกว่าภาคอื่นของไทย เพราะเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยเสน่ห์มนต์ขลัง ความเชื่อ ความคิด การกระทำ ค่านิยม ทัศนคติ ศีลธรรม ระเบียบแบบแผน และวิธีการกระทำสิ่งต่าง ๆ ตลอดจนถึงการประกอบพิธีกรรมในโอกาสต่าง ๆ ที่กระทำกันมาในอดีต ลักษณะสำคัญของประเพณี คือเป็นสิ่งที่เชื่อถือปฏิบัติกันมาจนกลายเป็นแบบอย่างความคิดหรือการกระทำที่ได้สืบต่อกันมาและมีอิทธิพลจนถึงปัจจุบัน    ประเพณีเป็นกฎเกณฑ์หรือแบบแผนที่สังคมกำหนดขึ้นใช้ร่วมกันในหมู่สมาชิกประเพณี จึงเป็นเครื่องหมายบอกความเป็นพวกเดียวกันของพวกที่ยึดถือในประเพณีเดียวกัน เป็นวัฒนธรรมประจำชาติหรือเป็นเอกลักษณ์ของสังคม แสดงว่า สังคมนั้นมีความเจริญมาตั้งแต่อดีตหรือมีลักษณะเฉพาะของตนมาเป็นเวลานาน ดังนั้นการมีประเพณี เป็นของตนเองจึงนับเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่ง และเป็นสิ่งเชื่อมโยงให้คนในสังคมมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา ส่วนใหญ่ผู้ถือปฏิบัติมักจะลืมความหมาย และความสำคัญของประเพณีนั้นๆ แต่ก็ยังคงยึดถือปฏิบัติกันอยู่ก็เพราะความเคยชินผสมกับความเชื่อทั้งจากศาสนาพุทธ และศาสนาพราหมณ์ ซึ่งในหมู่คนรุ่นหลังๆ ก็เริ่มลืมเลือน และไม่ค่อยให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องของประเพณีที่เคยสืบต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ  จึงเป็นเหตุให้ประเพณีค่อยๆ จางหายไปอย่างช้าๆ

Read more

ประเพณีสืบชะตา

ประเพณีสืบชะตา

      ประเพณีสืบชะตาเป็นประเพณีที่ผูกพันกับวิถีชีวิตของคนลำปางอย่างแน่นแฟ้นสืบทอดกันมาแต่โบราณกาล เพราะมีความเชื่อมั่นว่าพิธีสืบชะตานี้เป็นการต่ออายุทั้งของตัวเองและญาติพี่น้องบริวารหรือชะตาของ บ้านเมืองให้มีอายุยืนยาวสืบไปก่อให้เกิดความสุจความเจริญอีกทั้งเป็นการขจัดภัยอันตรายต่างๆที่จะบังเกิดขึ้นให้คลาดแคล้วจากบาปเคราะห์และสิ่งชั่วร้ายทั้งมวลก่อให้เกิดขวัญและกำลังใจในการดำรงชีวิตร่วมกันของคนในสังคม ซึ่งจะมีผลส่งให้บ้าน เมืองมีความสงบสุขและมีความอุดมสมบูรณ์สืบไป       คนสมัยก่อนมีความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ได้ศึกษาพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแตกฉานลึกซึ้งก็เลยมีความคิดที่จะมาทำให้บ้านเมืองและคนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดีจึงได้นำเอาพุทธานุภาพ ธรรมมานุภาพ สังฆานุภาพมาผสมผสานเป็นพิธีสืบชะตาขึ้นทั้งนี้เพื่อช่วยบรรเทาความทุกข์ใจความกังวลใจต่อบาปเคราะห์ต่างๆของมนุษย์ให้จางหายให้ประสบแต่เรื่องดีเรื่องเจริญเพราะยึดหลักที่ว่าผู้ใดหมั่นฟังธรรมเป็นนิจรู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน และเป็นผู้รักษาตนไม่ประมาท ย่อมจะมีชีวิตที่ยืนยาว    วัตถุประสงค์การสืบชะตาเพื่อให้เป็นสิริมงคล และขับไสสิ่งชั่วร้ายที่เป็นเสนียดจัญไรให้ออกไปจากบุคคลหรือสถานที่พิธีสืบชะตาเป็นประเพณีที่ได้รับอิทธิพลจากธรรมเนียมของพราหมณ์ ซึ่งได้นำมาผสมผสานกับพิธีกรรมของพุทธศาสนาได้อย่างกลมกลืน สืบชะตา มี 2 ประเภท คือ สืบชะตาคน และ สืบชะตาหมู่บ้าน พิธีกรรม 1. สืบชะตาหลวงให้ทุกคนในครอบครัวไปนั่งรวมกันภายในบริเวณขาตั้ง สามเหลี่ยมที่จัดไว้ ถ้าสืบชะตาหน้อยจะมีผู้สืบ ชะตาคนเดียวที่ไปนั่งในขาตั้งสามเหลี่ยม 2. พระสงฆ์นำสายสิญจน์ มาผูกคอผูกสืบชะตาทุกคนแล้วเริ่มสวด 3. ใกล้จะจบพอสวดถึงคำว่า ขีณํ ปุราณํ นวํ นตํกิ สมราวิ ฯลฯ ก็จะมีผู้เฒ่าเป็นหญิงหม้ายลงไปใต้ถุนบ้าน เริ่มเผาด้ายสาย สิญจน์ ซึ่งมัดขึงไว้กับเส้นลวด โดยมีความยาวของด้ายเท่ากับ 1 วา ของผู้สืบชะตาทุกคน การเผาเรียกว่าเผาสายสิญจน์ " ค่าคิง" ผู้ป่วยจะมีอายุ ยืนยาวต่อไปหรือมีความเชื่อว่าตายแล้วจะเกิดใหม่ 4.พอสวดเสร็จพิธี อาจารย์ผู้ที่อาราธนาศีล จะเป็นผู้เก็บขาตั้งสามเหลี่ยม 5. การนำไปทิ้งส่วนใหญ่จะนำไปเก็บไว้ในวัดที่มีต้นโพธิ์หรือต้นไม้ใหญ่ๆ หรืออาจจะเก็บไว้ในป่าที่มีต้นไม้ใหญ่ สาระ การสืบชะตาคล้ายกับการสะเดาะเคราะห์แต่การสืบชะตามีขั้นตอนและวิธีการยากกว่ามีวัสดุอุปกรณ์มาก แบ่งเป็น 2 พิธี คือ -

Read more

ประเพณีฮ้องขวัญ

ประเพณีฮ้องขวัญ

      คำว่า “ขวัญ” หมายถึง ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย… สิ่งที่ไม่มีตัวตนเชื่อกันว่ามีอยู่ประจำชีวิตของคนมาตั้งแต่เกิด ถ้าขวัญอยู่กับตัว ก็จะเป็นสิริมงคล เป็นสุขสบาย จิตใจมั่นคง ถ้าตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็จะออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ทำให้คนได้รับผลร้ายต่าง ๆ…และอนุโลมใช้ไปถึงสัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ ว่ามีขวัญเช่นเดียวกับคนเหมือนกัน      ชาวล้านนามีความเชื่อกันว่าขวัญจะอยู่ประจำตัวเป็นพลังที่ช่วยในการปกป้องรักษาเจ้าของขวัญให้มีความอยู่ เย็นเป็นสุขไม่ เจ็บไม่ป่วย   แต่เมื่อใดที่ขวัญอ่อนลงหรือออกจากร่างจะเป็นเหตุให้สภาวะของร่างกายและจิตใจของเจ้าของขวัญรู้สึกเสียใจ ตกใจ ท้อใจ อาจเรียกได้ว่า ขวัญหาย ขวัญหนีดีฝ่อ ขวัญเสียหรือเสียขวัญ ทำให้เจ้าของขวัญเจ็บป่วย กินไม่ได้นอนไม่หลับ ไม่มีกำลังใจ ในการดำเนินชีวิต ถ้าต้องการให้ขวัญกลับคืนสู่ตัวและชีวิตเป็นปกติสุข จำเป็นต้องทำ พิธีฮ้องขวัญ และโอกาสที่ใช้ในการฮ้องขวัญมีหลายลักษณะ เช่น การฮ้องขวัญเกี่ยวกับคน ได้แก่ การเรียกขวัญคนเจ็บไข้ได้ป่วย ขวัญคนที่ประสบอุบัติเหตุ ขวัญเด็ก ขวัญสามเณร ขวัญนาค ขวัญบ่าวสาว ขวัญผู้ใหญ่ที่เคารพ การฮ้องขวัญของผู้ที่มีการเปลี่ยนผ่านสถานภาพ (เปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่ การงาน เปลี่ยนที่อยู่อาศัย จบการศึกษา)       การฮ้องขวัญผู้มาเยือนเป็นการสร้างความสัมพันธ์ให้เกียรติแขกที่มาเยือน การฮ้อง ขวัญหลังจากการทำเกษตรที่ใช้แรงงานแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญูและการขอขมาลาโทษ ได้แก่

Read more

ประเพณีตานต๊อด

ประเพณีตานต๊อด

                 คำว่า “ตาน” มาจากคำว่า ทาน หรือการให้ทาน ส่วนคำว่า “ตอด” หรือ "ต๊อด" เป็นภาษาถิ่นล้านนา หรือออกเสียงภาษากลางว่า ทอด คือการเอาของไปวางไว้ วางทอดไว้      “ตานตอด” เป็นประเพณีที่งดงามแสดงถึงความมีน้ำใจไมตรี ความเอื้ออาทรซึ่งกันและกันในสังคมชนบท  ส่วนใหญ่จะทำกันในช่วงฤดูหนาวซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังการเก็บเกี่ยวและผู้คนในชนบทจะมีเวลาว่างจากการทำไร่ไถนา  การตานตอดนี้คนในชุมชนจะรวมตัวกันเพื่อพิจารณาว่าคนในหมู่บ้านหรือในชุมชนที่มีความขัดสน มีความยากไร้ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองหรือไม่สามารถทำมาหาเลี้ยงชีพได้  โดยเฉพาะผู้เฒ่าผู้แก่ที่ไม่มี ลูกหลานคอยดูแล  หลังจากนั้นคนในชุมชนจะร่วมบริจาคทรัพย์ ข้าวของเครื่องใช้ เสื้อผ้า อาหาร ยารักษาโรคต่างๆ ตามแต่กำลังของแต่ละคนที่พอจะช่วยกันได้ เมื่อได้รับข้าวของเครื่องใช้แล้วก็กำหนดวันที่ จะทำการตานตอด  โดยจะเริ่มในเวลากลางคืนและเป็นเวลาที่ผู้คนเข้านอนกันแล้ว ชาวบ้านจะนัดชุมนุมกัน ที่วัดโดยไม่ให้ผู้จะรับการตานตอดรู้ล่วงหน้า เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้วชาวบ้านก็จะช่วยกันนำสิ่งของเครื่องใช้ เหล่านั้น  ไปยังบ้านผู้ที่ชาวบ้านจะมอบให้ด้วยความสงบ  ทุกคนจะเดินตามกันไปอย่างเงียบๆ โดยมีผู้นำหมู่บ้านหรือผู้อาวุโสของชุมชนเป็นผู้นำขบวน  เมื่อไปถึงยังบ้านนั้นแล้วทุกคนจะนำข้าวของไปวางไว้ที่ หน้าบ้านอย่างเงียบๆ  จากนั้นทุกคนจะพากันไปแอบอยู่ตามพุ่มไม้บ้าง ตามแนวรั้วบ้านบ้างเพื่อไม่ให้เจ้าของบ้าน หรือผู้ที่รับทานเห็น  หลังจากนั้นก็จะทำการจุดประทัดแล้วโยนเข้าไปใต้ถุนบ้านบ้าง  เอาก้อนหินปาที่ข้างฝาบ้าน บ้างเพื่อให้ผู้เป็นเจ้าของบ้านนั้นตกใจตื่น  เท่านั้นเองผู้เขียนเห็นแสงตะเกียงในบ้านผู้เฒ่าผู้แก่นั้นถูกจุดขึ้น  พร้อมกับเสียงตะโกนด่าของแม่เฒ่าคนหนึ่ง  พร้อมทั้งเปิดประตูบ้านออกมาดูพอเปิดประตูออกมาเท่านั้นเอง สิ่งที่เห็นคือข้าวของเครื่องใช้และเครื่องดำรงชีพอีกมากมายกองอยู่ สิ้นสุดจากเสียงตะโกนด่าสิ่งที่พร่างพลู ออกมาคือรอยยิ้มของแม่เฒ่ากับสายน้ำตาแห่งความตื้นตันใจ  ผู้เขียนเองถึงแม้จะยังเล็กแต่ก็ยังจำความได้ดี  และมีน้ำตาซึมออกมาเช่นเดียวกับแม่เฒ่านั้น  เมื่อเหลือบไปมองคนรอบๆ ข้าง ความรู้สึกของทุกคนที่อยู่ที่นั่น ขณะนั้นก็ไม่ต่างไปจากผู้เขียนเท่าใดนัก  เสียงตะโกนด่าจากแม่เฒ่าเปลี่ยนเป็นคำว่า “สาตุ๊” ภาษากลางออกเสียงว่า “สาธุ”  พร้อมกับให้พรเป็นภาษาเหนือ  เมื่อพรของแม่เฒ่าจบลง

Read more

ประวัติผู้จัดทำ

ประวัติผู้จัดทำ

First Second Third ★ นางสาววนิดา เหลียวพัฒนพงศ์ ★ ชื่อ นางสาววนิดา เหลียวพัฒนพงศ์ วัน เดือน ปีเกิด 24 กรกฎาคม 2536 ที่อยู่ปัจจุบัน 173 หมู่ 4 ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย รหัสไปรษณีย์ 57150 โทรศัพท์ 0882336013 Email: oauni@hotmail.com ข้อมูลการศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม จังหวัดเชียงราย ★ นางสาวฝนทิพย์ ผามั่ง ★ ชื่อ นางสาวฝนทิพย์ ผามั่ง วัน เดือน ปีเกิด 20 กุมภาพันธ์ 2533 ที่อยู่ปัจจุบัน 54 หมู่ 1 ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย รหัสไปรษณีย์ 57100 โทรศัพท์ 0884101920 Email: mukdarat_1990@hotmail.co.th ข้อมูลการศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนแม่ยาววิทยา จังหวัดเชียงราย ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เอกการบัญชี วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย

Read more

แหล่งที่มา

แหล่งที่มา

http://board.palungjit.org http://pre.onab.go.th http://talk.mthai.com http://www.thongthailand.com http://www.chiangmaipao.go.th http://www.myfirstbrain.com http://www.prapayneethai.com

Read more